ภาวะผู้ชายหน้าอกโต เพราะฮอร์โมนในร่างกาย ผิดปกติจริงหรอ?
โดย panyapat Aiemsin
ทบทวนบทความโดย ทีม Hello คุณหมอ
ภาวะผู้ชายหน้าอกโต เพราะฮอร์โมนในร่างกาย ผิดปกติจริงหรอ?
กล้ามหน้าอกสุดแน่น ของหนุ่มๆ ที่บรรดาสาวๆ พากันจับจ้อง ในความเป็นจริงแล้วพวกเขาอาจกำลังเป็น ภาวะผู้ชายหน้าอกโต อยู่ก็เป็นได้ ซึ่งสามารถพบได้ทั่วไปในช่วงเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์ แต่สำหรับคุณผู้ชายบางคนอาจเกิดความวิตกกังวลถึงบุคลิกภาพของตนเองอยู่บ้าง วันนี้ Hello คุณหมอ จึงนำความรู้เกี่ยวกับภาวะนี้มาฝากกัน
ทำความรู้จักกับ ภาวะผู้ชายหน้าอกโต (Gynecomastia)
ภาวะผู้ชายหน้าอกโต หรือเรียกง่ายๆ อีกอย่างว่า ผู้ชายนมโต (Gynecomastia) เป็นภาวะที่เกิดจากเนื้อเยื่อบริเวณเต้านมบวม เนื่องจากความไม่สมดุลของฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน (Testosterone) และเอสโตรเจน (Estrogen) ในร่างกายของผู้ชายส่วนใหญ่มักจะสร้างฮอร์โมน 2 ชนิดนี้ไว้ทำงานควบคู่กัน เมื่อเอสโตรเจนที่เป็นฮอร์โมนกระตุ้นการเจริญเติบโตทางเพศที่มีอยู่ในผู้หญิงสูงขึ้น และระดับเทสโทสเตอโรนต่ำลงจึงทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงด้านใดด้านหนึ่ง รวมถึงภาวะที่ทำให้ผู้ชายมีหน้าอกด้วย
ตามสถิติการดูแลของมูลนิธิระบบทางเดินปัสสาวะพบว่า ผู้ชาย 1 ใน 4 คน ที่มีอายุ 45 ปีขึ้นไป ผู้ที่มีระดับเทสโทสเตอโรนต่ำสามารถทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนได้หลายประการ เช่น อารมณ์ทางเพศลดลง จำนวนอสุจิอยู่ในเกณฑ์ต่ำกว่ามาตรฐาน เกิดความเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ และรวมถึงภาวะหน้าอกโตนี้เช่นกัน
เลิกกังวลแล้วหันมาวินิจฉัยกับแพทย์กันเถอะ
สัญญาณแรกที่บ่งบอกว่าคุณอาจเข้าสู่ภาวะนี้ หากคุณไม่ได้เป็นคนที่รักการออกกำลังกาย เข้าฟิตเนส หรือเล่นกล้าม คุณสามารถสังเกตจากอาการเจ็บบริเวณหน้าอกของคุณ และพบก้อนแข็งๆ ใต้หัวนม ควรเข้ารับการวินิจฉัยจากแพทย์อย่างละเอียดถึงโรคประจำตัว โดยเฉพาะโรคไต โรคตับ พฤติกรรมการเสพสารสิ่งเสพติด ทางการแพทย์อาจขอความร่วมมือคุณด้วยการตรวจปัสสาวะเพิ่มเติม รวมถึงตรวจชิ้นเนื้อก้อนแข็งๆ โดยการเอ็กซเรย์ บางครั้งอาจหมายถึงโรคร้ายแรงที่ตามมาได้ อย่างโรคมะเร็งเต้านม
รักษา ภาวะหน้าอกโต ให้กลับมา อกมาดแมน ไม่ใช่เรื่องยาก
ส่วนใหญ่ภาวะผู้ชายหน้าอกโตนี้มักหายได้ด้วยตัวคุณเอง ซึ่งขึ้นอยู่กับการดูแลร่างกายให้คงความสมดุล และแข็งแรงอยู่เสมอ หากคุณรู้จักปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหันมาใส่ใจด้านสุขภาพขึ้นหน้าอกของคุณอาจกลับเข้าสู่สภาพปกติพร้อมทั้งพ้นโรคร้ายอีกด้วย
เลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์
ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
การเลือกรับประทานยาเสริมเพื่อเป็นตัวช่วยในการบำรุงร่างกาย
ในบางกรณีที่ปล่อยไว้นานจนเกินไป อาจต้องมีการผ่าตัดเพื่อดูดไขมันส่วนเกิน หรือผ่าตัดนำต่อมเนื้อเยื่อบริเวณเต้านมที่บวมของคุณออกไป เพื่อลดความเสี่ยงของโรคอื่นๆ ที่สามารถตามมาได้ในอนาคต
อ่านเพิ่มเติม:
เจ็บหน้าอก สัญญาณของหลายโรคร้ายที่ไม่ควรเพิกเฉย
ผู้ชายมี เอสโตรเจนสูง เป็นเพราะอะไร สังเกตได้ยังไงบ้าง
7 วิธีเพิ่มระดับเทสโทสเตอโรนแบบธรรมชาติ ที่พิสูจน์แล้วว่าได้ผล
Share now :
|